กฎหมายภาษีไทยถูกแก้ไขเพิ่มเติมหลายครั้ง ซึ่งถึงแม้ว่าข้อมูลที่กำลังเสนอที่แก้ไขล่าสุดเมื่อเดือนมกราคม 2557 แต่นักลงทุนหลายท่านอาจจะสับสนกับข้อมูล ทางเราจึงแนะนำให้หาที่ปรึกษาทางกฎหมายหรือสามารถเข้ามาปรึกษากับเราเรื่องกฎหมายภาษีได้ เรายินดีพร้อมให้คำแนะนำเสมอ
ภาษีกำไรส่วนต่างจากการลงทุน
ในประเทศไทยไม่ได้ระบุกฎหมายภาษีกำไรส่วนต่างจากการลงทุนที่เฉพาะเจาะจง รายได้จากกำไรส่วนต่างจากการลงทุนจะถูกจัดการภายใต้บทบัญญัติทั่วไปของกฎหมายภาษีเงินได้ซึ่งกำหนดให้กำไรส่วนต่างจากการลงทุนเป็นรายได้พึงประเมินได้โดยขึ้นอยู่กับภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและภาษีเงินได้นิติบุคคล จำนวนรายได้พึงประเมินสำหรับกำไรจากการขายสินทรัพย์ (หรือทรัพย์สินอื่นหรือการลงทุน) เป็นเพียงส่วนต่างระหว่างราคาขายกับราคาซื้อเดิม
ไม่มีเงินสำรองสำหรับเงินภาวะเงินเฟ้อแม้ว่าจะมีเงินสำรองในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
การขายที่ก่อให้เกิดกำไรส่วนต่างจากการลงทุน (ภาษีเงินได้) เป็นจำนวนที่ได้รับจริงโดยไม่คำนึงถึงราคาตลาด
สำหรับผู้เสียภาษีที่ไม่ใช่ผู้มีถิ่นที่อยู่ในไทย รายได้จากกำไรส่วนต่างจากการลงทุนที่มาจากประเทศไทยจะต้องเสียภาษีในอัตราร้อยละ 15 ตามกฎหมายว่าด้วยรายได้ส่วนบุคคลในประเทศไทย อย่างไรก็ตาม บุคคลต่างด้าวที่เป็นชาวต่างชาติที่ขายสินทรัพย์ในประเทศไทยควรทราบว่าพวกเขาอาจได้รับการยกเว้นภาษี 15% ภายใต้สนธิสัญญาเกี่ยวกับการเก็บภาษีซ้ำซ้อน
การได้รับยกเว้นภาษีกำไรส่วนต่างจากการลงทุนอื่นๆ
รัฐบาลไทยให้ความยินยอมแก่ผู้มีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักรและผู้มีถิ่นที่อยู่นอกประเทศในการขายสินทรัพย์และใช้เงินที่ได้รับในการซื้อสินทรัพย์อื่นที่จะใช้เป็นที่อยู่อาศัยหลักของตน
แต่อย่างไรก็ตาม มีบทบัญญัติหลายประการที่ต้องปฏิบัติเพื่อให้ได้รับการยกเว้นอย่างถูกต้อง
ประการแรก คือ ผู้ขายจะต้องอาศัยอยู่ในสินทรัพย์ที่ขายเป็นที่อยู่อาศัยหลักและได้จดทะเบียนมีชื่ออยู่ในที่อยู่อาศัยนั้นเป็นระยะเวลาอย่างน้อยหนึ่งปีนับจากวันที่ได้มา
ประการที่สองคือผู้ขายต้องซื้อสินทรัพย์ใหม่ภายในหนึ่งปีก่อนหรือหลังการขายและสินทรัพย์ใหม่ต้องถูกใช้เพื่อวัตถุประสงค์ในการเป็นที่อยู่อาศัย
ทั้งนี้ จำนวนเงินที่ได้รับยกเว้นจะคำนวณตามมูลค่าประเมินอย่างเป็นทางการของสินทรัพย์ ณ ขณะขายซึ่งอาจต่ำกว่าหรือสูงกว่าราคาขายจริง แต่ต้องไม่เกินมูลค่าของสินทรัพย์ใหม่
ภาษีเงินได้ในประเทศไทย
ในขณะที่เขียนบทความนี้ รัฐบาลไทยได้มีมติให้ออกกฎหมายเพื่ออนุมัติการปรับลดอัตราภาษีเงินได้ซึ่งคาดว่าจะมีผลในปี พ.ศ. 2557
สำหรับผู้ที่มีถิ่นที่อยู่ในประเทศไทย อัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดามีดังนี้
จำนวนเงินได้สุทธิ |
อัตราปีสุดท้าย 2555-2556 |
อัตราที่นำเสนอสำหรับปี 2556 เป็นต้นไป |
1 – 150,000 |
ยกเว้น |
ยกเว้น |
150,000 – 300,000 |
10% | 5% |
300,000 – 500,000 |
10% |
10% |
500,000 – 750,000 |
20% | 15% |
750,000 – 1,000,000 |
20% |
20% |
1,000,000 – 2,000,000 |
30% |
25% |
2,000,000 – 5,000,000 |
30% |
30% |
มากกว่า 5,000,000 |
37% |
35% |
สำหรับผู้ที่ไม่มีถิ่นที่อยู่ในประเทศไทยจะต้องเสียภาษีตามอัตราที่กำหนดดังต่อไปนี้
จำนวนเงินได้สุทธิ (ดูหมายเหตุ 2) |
งบประมาณปี 2555-2556 |
ปี 2556 เป็นต้นไป |
จำนวนเงินทั้งหมด |
15% |
15% |
หมายเหตุ 1 – สำหรับผู้ที่มีถิ่นที่อยู่ในประเทศไทย จำนวนเงินที่ต้องเสียภาษี คือ จำนวนสุทธิของรายได้ที่ได้รับหลังการหักเงินและค่าลดหย่อน
หมายเหตุ 2 – สำหรับผู้ที่ไม่มีถิ่นที่อยู่ในประเทศไทยจำนวนรายได้ที่ต้องเสียภาษี คือ ยอดรวมของรายได้ที่ได้รับ
ภาษีรายได้การปล่อยให้เช่า
รายได้ที่เกิดจากการให้เช่าจะรับรู้ได้ตามกฎหมายภาษีเงินได้ของไทยและจะถือเป็นจำนวนเงินที่จะต้องมีการชำระภาษีหลังจากหักค่าใช้จ่ายที่เกิดจากรายได้รวม
รายได้ค่าเช่าจะได้รับอนุญาตให้หักลดหย่อน 10% ถึง 30% ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับประเภทของทรัพย์สิน หากค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจริงสูงกว่าการอัตราการหักลดหย่อนที่กำหนดเราสามารถอ้างสิทธิ์นี้ได้แต่ต้องมีเอกสารประกอบเพื่อเป็นหลักฐานแสดง
ภาษีที่อยู่อาศัยและที่ดิน
ภาษีอาคารหรือที่อยู่อาศัยและที่ดินจะต้องจ่ายเป็นรายปีโดยฝ่ายรายได้ สำนักงานเขต ณ พื้นที่ที่ทรัพย์สินตั้งอยู่ สำหรับเจ้าของสินทรัพย์ที่เป็นบุคคลธรรมดาต้องการให้เช่าสินทรัพย์ของตน ภาษีจะได้รับการประเมินในอัตราร้อยละ 12.5 ของค่าเช่ารายปีตามสัญญาเช่าหรือมูลค่าประเมินประจำปีโดยหน่วยงานท้องถิ่นซึ่งแล้วแต่จำนวนใดจะสูงกว่า
การครอบครองโดยผู้เป็นเจ้าของจะได้รับการยกเว้นภาษีอาคารและที่ดินและเจ้าของเป็นผู้รับผิดชอบในการแจ้งให้หน่วยงานท้องถิ่นทราบว่าสินทรัพย์นั้นได้ปล่อยเช่าหรือนำไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์และชำระภาษีเช่าภายในเดือนกุมภาพันธ์ของทุกปี
โดยทั่วไปแล้วในประเทศไทยภาระภาษีจะตกทอดไปยังผู้ให้เช่าและ/หรือผู้เช่าในสัญญาเช่า